เมนู

กสิณ 10


วิสัชนา 10 มีวิสัชนาในปฐวีกสิณเป็นต้น พระธรรมเสนาบดี
สารีบุตร ได้แสดงด้วยสามารถแห่งกสิณภาวนา.
ดวงกสิณด้วยสามารถการแผ่ไปในอารมณ์ทั้งสิ้นก็ดี, นิมิตที่
ปรากฏที่ดวงกสิณนั้นก็ดี, ฌานมีดวงกสิณนั้นเป็นอารมณ์ก็ดี ท่าน
เรียกว่า กสิณ. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาฌาน. คือ ฌาน 4 มี
มหาภูตเป็นกสิณเป็นอารมณ์ ในเบื้องต้น, จากนั้น ฌาน 4 มีวัณณ-
กสิณเป็นอารมณ์ ในเบื้องปลาย.
ปริจเฉทากาส 1, ฌานมีปริจเฉทากาสนั้นเป็นอารมณ์ 1,
กสิณุคฆาฏิมากา 1, และอากาสานัญจายตนฌาน มีกสิณุคฆาฏิมากาส
นั้นเป็นอารมณ์ ท่านเรียกว่า อากาสกสิณ.
จิตที่รู้อากาสานัญจายตนฌาน 1, วิญญาณัญจายตนฌานมีอากา-
สานัญจายตนฌานนั้นเป็นอารมณ์ 1 ท่านเรียกว่า วิญญาณกสิณ.

อาการ 32


6] วิสัชนา 32 มีวิสัชนาเกสาเป็นตัน พระธรรมเสนาบดี
สารีบุตร ได้แสดงด้วยสามารถกรรมฐานมีอาการ 32 เป็นอารมณ์. ก็
เมื่ออาการ 32 มีเกสาเป็นต้นเหล่านั้นปรากฏโดยความเป็นของปฏิกูล

ก็เป็นอสุภกรรมฐานด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ, เมื่อปรากฏโดยความ
เป็นสี ก็เป็นวัณณกรรมฐาน,1 เมื่อปรากฏโดยความเป็นธาตุ ก็เป็น
จตุธาตุววัตถามกรรมฐาน. อนึ่ง อาการ 32 มีเกสาเป็นต้นปรากฏ
โดยความเป็นปฏิกูล หรือโดยสี ฌานก็มีสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอารมณ์
เมื่อธาตุปรากฏแล้ว ก็พึงทราบว่า เป็นโกฏฐาสเหล่านั้น และเป็นการ
เจริญธาตุที่มีโกฏฐาสนั้นเป็นอารมณ์.
1 เกสา - ผมทั้งหลาย เกิดอยู่ที่หนังหุ้มกระโหลกศีรษะในด้าน
ข้างทั้ง 2 แห่งศีรษะ กำหนดด้วยกกหูทั้ง 2 ข้างหน้ากำหนดด้วย
หน้าผากเป็นที่สุด, และข้างหลังกำหนดด้วยท้ายทอย นับได้ตั้งแสน
เป็นอเนก.
2 โลมา - ขนทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่หนังหุ้มสรีระโดยมาก เว้น
ที่เป็นที่ตั้งแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และฝ่ามือฝ่าเท้าทั้ง 2 เสีย ท่าน
กำหนดขุมขนไว้ถึง 9 หมื่น 9 พันขุม ตั้งอยู่ในหนังหุ้มสรีระ มี
ประมาณลิกขาหนึ่งเป็นประมาณ.
3 นขา - เล็บทั้งหลาย ตั้งอยู่บนหลังแห่งปลายนิ้วทั้งหลาย
นับได้ 20.
4 ทนฺตา - ฟันทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้ง 2 โดยมาก
นับได้ 32 ซี่.
1. ฉ. กสิณกรรมฐาน.

5 ตโจ - หนังหุ้มสรีระทั้งสิ้น ตั้งอยู่ใต้ผิวหนัง บนพังผืดชั้น
นอก.
6 มํสํ - เนื้อนับได้ 900 ชิ้น ตั้งฉาบกระดูก 300 กว่าท่อน.
7 นหารุ - เอ็น 900 ผูกพันกระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่ทั่วสกล
สรีระ.
8 อฏฺฐี - กระดูก 300 กว่าท่อน ตั้งอยู่ทั้งเบื้องล่างเบื้องบน
ทั่วสกลสรีระ.
9 อฏฺฐิมิญฺชา1- เยื่อในกระดูก ตั้งอยู่ภายในกระดูกเหล่านั้น ๆ.
10 วกฺกํ2- ไต ได้แก่ ก้อนเนื้อ 2 ก้อนอยู่ล้อมเนื้อหัวใจ
มีขั้วอันเดียวกันแตกออกจากหลุมคอ ถ้าไปหน่อยหนึ่ง แล้วแยกออก
เป็น 2 รึงรัดไว้ด้วยเอ็นหยาบ ๆ.
11 หทยํ - หัวใจ ได้แก่ ก้อนเนื้อหทัย ตั้งอยู่ท่ามกลางถัน
ทั้ง 2 ข้างในภายในสรีระ เต็มไปด้วยโลหิตประมาณกึ่งฟายมือเป็นที่
อาศัยแห่งจิต มีหลุมภายในมีประมาณเท่าที่ตั้งแห่งเมล็ดบุนนาค
12 ยกนํ - ตับ ได้แก่ แผ่นเนื้อเป็นคู่ อาศัยตั้งอยู่ข้างขวา
ภายในร่างกายระหว่างถันทั้ง 2 ข้าง.
13. กิโลมกํ - พังผืด ได้แก่ เนื้อหุ้ม 2 อย่าง คือ เนื้อพังผืด
ที่ปิด หุ้มหัวใจและม้ามตั้งอยู่ 1, และเนื้อพังผืดที่ไม่ปิด หุ้มเนื้อใต้
1. ในที่ทั่วไปเป็น อฏฺฐิมิญฺชํ. 2. โบราณแปลว่า ม้าม.

ผิวหนังตั้งอยู่ทั่วสกลสรีระ 1.
14. ปิหกํ1 - ม้าม ได้แก่ เนื้อมีสัณฐานดุจลิ้นลูกโคดำตั้งอยู่
ข้างซ้ายหัวใจ อาศัยข้างบนเยื้อหุ้มท้อง.
15. ปปฺผาสํ - ปอด ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เรียกว่าปอดโดยประเภท
นับได้ 32 ก้อน ห้อยปิดเนื้อบนหัวใจและตับตั้งอยู่ราวนมทั้ง 2 ข้าง
ในภายในสรีระ.
16. อนฺตํ - ไส้ใหญ่ ได้แก่ เกลียวไส้ที่เป็นขนด ขดอยู่ในที่
ทั้งหลาย คือ เบื้องบนใต้หลุมคอลงมา เบื้องล่างถึงกรีมรรค** ตั้งอยู่
ภายในสรีระ มีหลุมคอเป็นต้นและมีกรีสมรรคเป็นที่สุดเกี่ยวพันถึงกัน
ของบุรุษยาว 32 ศอก ของสตรียาว 28 ศอก รวม 21 ขนดด้วยกัน.
17. อนฺตคุณํ - ไส้น้อย ได้แก่ ลำไส้น้อยพันปลายปากขนด
รวมกันที่ขนดลำไส้ใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างขนดลำไส้ใหญ่ 2 ขนด.
18. อุทริยํ - อาหารใหม่ ได้แก่ อาหารที่ถูกบดจนเป็นจุรณ
ด้วยสากคือฟัน หมุนไปรอบ ๆ ด้วยมือคือลิ้น เกลือกที่กลั้วด้วยน้ำลาย
ในขณะนั้นก็ปราศจากสมบัติแห่งสีกลิ่นและรสเป็นต้น เช่นกับข้าวย้อม
ด้ายของช่างหูกและรากสุนัข ตกไปคลุกเคล้ากับดีเสมหะและลม เดือด
ด้วยกำลังความร้อนของไฟในท้อง เกลื่อนกล่นด้วยกิมิชาติตระกูลใหญ่
น้อย ปล่อยฟองฟอดขึ้นเบื้องบน จนถึงความเป็นขี้ขยะมีกลิ่นเหม็น
1. โบราณแปลว่า ไต. 2. กรีสมรรค = ทวารหนัก.

น่าเกลียดยิ่งนัก อยู่ที่พื้นลำไส้ใหญ่บนนาภี กล่าวคือที่ท้องอันเป็น
ที่อาศัยของอาหารใหม่ต่าง ๆ ที่กลืนดื่มเคี้ยวกินและลิ้มเข้าไป.
19 กรีสํ - อาหารเก่า ได้แก่ อุจจาระตั้งอยู่ในที่สุดแห่งลำไส้
ใหญ่ สูงประมาณ 8 องคุลี ในระหว่างแห่งนาภีและที่สุดแห่งกระดูก
สันหลัง1 ในภายใต้ กล่าวคือที่อยู่ขอบอาหารที่ย่อยแล้ว.
20 ปิตฺตํ - น้ำดี ได้แก่ ดี 2 อย่าง คือ ที่อาศัยตับใน
ระหว่างเนื้อหทัยและปอดตั้งอยู่ กล่าวคือน้ำดีที่อยู่ประจำในถุงน้ำดี มี
สัณฐานเช่นกับรังบวบขมใหญ่ 1, และที่มิได้อยู่ประจำ เว้นที่ของผม,
ขน, เล็บ, และฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้านและแห้งซึมซาบอยู่ทั่ว
สรีระส่วนที่เหลือ.
21 เสมิหํ - เสลด ได้แก่ เสมหะประมาณเต็มฟายมือหนึ่ง
ตั้งอยู่ที่พื้นท้อง.
22 ปุพฺโพ - หนอง ได้แก่ ความแปรไปแห่งโลหิตเสีย2
เกิดที่อวัยวะที่ถูกเสี้ยนหนามและเปลวไฟเป็นต้น กระทบแล้วหรือที่
อวัยวะที่มีฝีและต่อมพุพองเป็นต้น เกิดขึ้นแล้วด้วยการกำเริบแห่งธาตุ
ในภายในสรีระประเทศ.
1. ... ปิฏฺฐิกณฺฏกมูลานํ. 2. ปริปกฺกโลหิต...โลหิตแก่รอบ.

23 โลหิตํ - โลหิต ได้แก่ เลือด 2 อย่าง คือ เลือดที่สั่งสม
อยู่มีประมาณเพียงเต็มฟายมือหนึ่งชุ่มอยู่ที่ไตเนื้อหัวใจตับและปอด ไหล
ออกทีละน้อย ๆ เบื้องบนเนื้อหัวใจไตและปอดเต็มส่วนล่างของตับ 1,
และเลือดที่วิ่งแผ่ไปทั่วสรีระที่มีใจครองทั้งปวง โดยทำนองแห่งเปลวไฟ
ที่พุ่งไป เว้นเสียแต่ที่ของผมขนเล็บและฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้าน
และแห้ง 1.
24 เสโท - เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุที่ไหลออกจากช่องขุมผม
และขนทั้งปวงในสรีระที่ร้อนเพราะความร้อนจากไฟและความร้อนจาก
ดวงอาทิตย์และความวิการแห่งฤดูเป็นต้น.
25 เมโท - มันข้น ได้แก่ ยางเหนียวข้น ของคนอ้วนอาศัย
ตั้งอยู่ระหว่างหนังและเนื้อ, ของคนผอมอาศัยตั้งอยู่ที่อวัยวะทั้งหลายมี
เนื้อแข้งเป็นต้น.
26 อสฺสุ - น้ำตา ได้แก่ อาโปธาตุที่ตั้งอยู่เต็มเบ้าตาก็ดี ที่
ไหลออกก็ดี เพราะเกิดจากดีใจเสียใจ อาหารที่เป็นวิสภาคคือที่เผ็ดร้อน
และอุตุ.
27 วสา - มันเหลว ได้แก่ มันเหลวใส ตั้งอยู่ที่ฝ่ามือที่หลัง
มือฝ่าเท้าหลังเท้าดั้งจมูกหน้าผากและจะงอยบ่า โดยมากเกิดแต่อุสมา-
เตโชคือไออุ่นจากความร้อนของไฟความร้อนของดวงอาทิตย์และผิดฤดู.
28 เขโฬ - น้ำลาย ได้แก่ อาโปธาตุที่ระคนกันเป็นฟอง
ตั้งอยู่ที่ลิ้นข้างกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้าง เพราะโดยมากเกิดแก่ผู้เห็นหรือ

นึกถึงหรือหยิบวางอาหารเช่นนั้นไว้ในปากก็ดี เกิดแก่ผู้เหน็ดเหนื่อย
อยู่ก็ดี หรือเกิดความรังเกียจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี.
29 สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก ได้แก่ ของเน่าไม่สะอาดลื่นเป็นมัน
เกิดแก่ผู้มีธาตุกำเริบ เกิดด้วยอาหารวิสภาค และผิดฤดู, หรือแก่คนร้อง
ไห้อยู่ ไหลออกจากเยื่อในสมองภายในศีรษะ ไหลออกมาทางช่อง
เพดานไปเต็มอยู่ในโพรงจมูกเกรอะกรังขังอยู่ก็มี ไหลออกอยู่ก็มี.
30 ลสิกา - ไขข้อ ได้แก่ น้ำมันที่ให้สำเร็จกิจในการหยอด
น้ำมันที่ข้อต่อแห่งกระดูก ตั้งอยู่ระหว่างข้อต่อแห่งกระดูก 180 ข้อต่อ.
31 มุตฺตํ - น้ำมูตร ได้แก่ อาโปธาตุตั้งอยู่ภายในกะเพาะ
ปัสสาวะ ด้วยอำนาจอาหารและอุตุ.
32 มตฺถลุงฺคํ - มันสมอง ได้แก่ กองแห่งเยื่อรวมกันแล้ว
มีจำนวน 4 ก้อน ตั้งอยู่ที่รอยเย็บ 4 แห่งภายในกระโหลกศีรษะ.

อายตนะ 12


7] วิสัชนา 12 มีวิสัชนาในจักขายตนะเป็นต้น พระธรรม
เสนาบดีสารีบุตร แสดงด้วยสามารถแห่งอายตนะ 12. ชื่อว่า อายตนะ
เพราะสืบต่อ, ชื่อว่า อายตนะ เพราะสืบต่อแห่งการมา, และชื่อว่า
เพราะนำไปซึ่งการสืบต่อ. มีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้ว่า จริงอยู่ ธรรม